ป้ายกำกับ

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อสอบคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระที่ 1 มาตรฐาน ค 1.3

ข้อสอบคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระที่ 1 มาตรฐาน ค 1.3
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดคือ ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหมื่นของ 26,540
ก.      26,540
ข.      26,500
ค.      20,000
ง.       30,000
2. หากสมใจต้องการหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มแสนของ 3,456,100 สมใจต้องพิจารณาเลขโดดในหลักใด
ก.      หลักล้าน
ข.      หลักแสน
ค.      หลักหมื่น
ง.       หลักพัน
3. จากสถานการณ์ในข้อ 2 คำตอบที่ถูกต้องของสมใจคือข้อใด
ก.      3,000,000
ข.      3,400,000
ค.      3,500,000
ง.       4,000,000
4. สถานการณ์ใดต่อไปนี้ควรใช้การประมาณค่าจำนวนนับเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
ก.      จำนวนผู้มาลงคะแนนประชามติทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 25,333,456 คน
ข.      จำนวนนักท่องเที่ยวช่วงการแข่งขันโอลิมปิคฤดูร้อนที่ประเทศบราซิลมี 304,245,444 คน
ค.      แม่จ่ายค่าเล่าเรียนและค่าอุปกรณ์การเรียนทั้งสิ้น 2,334.22 บาท
ง.       ถูกทุกข้อ
5. 5,000,000 เป็นค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มล้าน ของจำนวนใด
ก.      4,034,999
ข.      4,598,987
ค.      5,501,111
ง.       5,634,999


6. จำนวน 45.389 หากต้องการหาค่าประมาณทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง ควรพิจารณาเลขโดดตัวใด
ก.      5
ข.      3
ค.      8
ง.       9
7. จากสถานการณ์ในข้อที่ 6 คำตอบคือเท่าไร
ก.      45.3
ข.      45.4
ค.      45.8
ง.       45.9
8. ข้อใดต่อไปนี้ มีโอกาสใช้การประมาณค่าทศนิยมมากที่สุด
ก.      การบวก ทศนิยม
ข.      การลบ ทศนิยม
ค.      การคูณ ทศนิยม
ง.       การหาร ทศนิยม
9. ณัฐพรทำการหารทศนิยมปรากฏว่าผลลัพธ์ที่ได้คือ 3.456 หากต้องการตอบเป็นจำนวนเต็ม คำตอบคือเท่าไร
ก.      2
ข.      3
ค.      4
ง.       5
10. ให้นักเรียนหาคำตอบของ 17 ÷ 6 ผลลัพธ์คือเท่าไร (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
ก.      2.38
ข.      2.80
ค.      2.83
ง.       2.84

ข้อสอบคณิตศาสตร์ชุดนี้ จะถามเกี่ยวกับการประมาณค่า ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยกันคือ หนึ่งข้อสอบคณิตศาสตร์ประมาณค่าที่เป็นเรื่องของจำนวนนับ และสองข้อสอบคณิตศาสตร์ประมาณค่าที่เป็นทศนิยม โดยกลุ่มแรกนั้นส่วนใหญ่ในข้อสอบคณิตศาสตร์โอเนตมักจะถามเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาทั่วไป ส่วนกลุ่มที่สองมักจะแฝงมาในรูปของกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทศนิยมโดยเฉพาะเรื่องการหารที่มักจะให้คำตอบเป็นทศนิยมซ้ำ หรือทศนิยมไม่รู้จบเพื่อต้องการให้เราทำการประมาณค่าคำตอบให้ได้ตามที่กำหนดนั่นเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น