ป้ายกำกับ

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อสอบคณิตศาสตร์ มาตรฐาน ค1.2 คืออะไร

ข้อสอบคณิตศาสตร์ มาตรฐาน ค1.2 คืออะไร
ข้อสอบคณิตศาสตร์ หากเราจะพูดถึงเรื่องของข้อสอบโอเนต ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้การออกข้อสอบแบบตามตัวชี้วัด ไม่ใช่แบบตามหัวข้อเรื่องเหมือนที่เราสอนนั้น ส่วนตัวเองถ้าบอกว่าในสาระที่ 1 มาตรฐานไหนยากที่สุดขอยกให้กับ มาตรฐาน ค1.2 เลย เป็นอะไรที่ยากมาก เป็นเพราะอะไรจะมาเล่าให้ฟัง
ข้อสอบคณิตศาสตร์ มาตรฐาน ค1.2 คืออะไร
ข้อสอบคณิตศาสตร์ มาตรฐาน ค1.2 มีชื่อว่า การเข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา (ฟังแล้วยาวมาก) แต่สรุปว่ามาตรฐานตัวนี้จะพูดถึงเรื่องของการบวก ลบ คูณ หาร รวมไปถึงการระคน และโจทย์ปัญหาด้วย
ข้อสอบคณิตศาสตร์ โจทย์ระคน ความยากถึงยากที่สุด
จากประสบการณ์ที่สอนคณิตศาสตร์มาพอสมควร สังเกตุได้ว่าข้อสอบคณิตศาสตร์อย่างหนึ่งที่สร้างความปวดหัวให้กับนักเรียนทั่วไปได้มากที่สุดคือ เรื่องของการระคน ที่มีการรวมการบวก ลบ คูณ หาร เข้าด้วยกัน ซึ่งหากในโจทย์มีการดำเนินการบวก ลบ คูณ หาร อย่างน้อย สามครั้งขึ้นไป รับรองนักเรียนที่ไม่ชอบส่ายหน้าหนีกันเป็นแถว
ข้อสอบคณิตศาสตร์ โจทย์ระคนแบบผสม ยิ่งยากไปกันใหญ่
ข้อสอบคณิตศาสตร์ที่เป็นโจทย์ระคนทั่วไปที่มีเฉพาะตัวเลขกับเครื่องหมายก็ว่ายากแล้ว โจทย์ระคนที่เพิ่มความซับซ้อนขึ้นไปอีกโดยการเอาจำนวนที่แตกต่างกันมาระคนกัน เช่น เอาเศษส่วน กับ บวกกับทศนิยม แล้วคูณกับจำนวนนับ อีก เจออย่างนี้เข้าไปต้องบอกเลยว่า ถ้าคนไหนพื้นไม่แน่นจริง คงหาคำตอบได้ยาก
ข้อสอบคณิตศาสตร์ โจทย์ปัญหา ยาขมหม้อใหญ่
มาตรฐาน ค1.2 นี้ ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นยาขมหม้อใหญ่เลย นั่นคือข้อสอบคณิตศาสตร์ที่เป็นโจทย์ปัญหา ที่มีความเกี่ยวข้องกับทักษะการอ่านด้วย ถ้านักเรียนคนไหนอ่านไม่คล่องแล้ว หรือ วิเคราะห์โจทย์ไม่ได้(ตีโจทย์ไม่แตก) อันนี้ก็เตรียมใจว่าผิดได้เลย เพราะหากตีความผิด ก็ใช้เครื่องหมายและวิธีการผิด โอกาสที่จะฟลุคเดาๆถูกนั้นก็น้อยลงไปด้วย
ข้อสอบคณิตศาสตร์มาตรฐานนี้ ทำไมถึงยาก
ส่วนตัวผู้เขียนเองเชื่อว่า ข้อสอบคณิตศาสตร์แบบระคนทั้งแบบที่มีแต่ตัวเลข หรือแบบโจทย์ปัญหานั้น สิ่งหนึ่งที่ทำให้ยากก็คือ นักเรียนทั่วไป ไม่ค่อยมีโอกาสได้ฝึกเท่าไร อาจจะเป็นข้อจำกัดเรื่องของเวลา หรือ แบบฝึกในหนังสือที่น้อยเกินไป หรือหากทำใบงานเพิ่ม นักเรียนที่สนใจก็จะได้ฝึกแต่ถ้าเป็นนักเรียนที่ไม่สนใจก็จะมองข้ามไป พอไม่ได้ฝึกอยู่เป็นประจำก็จะไม่สามารถเรียงลำดับขั้นตอนการทำที่ถูกต้องได้ สุดท้ายเจอในข้อสอบก็หัวหมุนกันไปตามๆกัน แต่สุดท้ายวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ก็คือ ต้องหาแบบฝึกให้ทำบ่อยๆอยู่ดี อาจจะเป็นอาทิตย์ละครั้งก็ได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นวิธีการคิดอยู่บ่อย รวมถึงเน้นไปที่การให้กำลังใจมากกว่าการจับผิดจะช่วยให้นักเรียนไม่เครียดมาก เชื่อว่าคุณครูทุกคนทำได้อยู่แล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น